เก็บมาเล่า เอามาฝาก จากการประชุมวิจารณ์ข้อเสนอปฏิรูประบบวิจัยของประเทศ ครั้งที่ ๑

วันที่ ๑๒ ก.ค. ๕๔ สถาบันคลังสมอง และ วช. จัดการประชุมสาธารณะ "ประชุมวิจารณ์ข้อเสนอปฏิรูประบบวิจัยของประเทศ ครั้งที่ ๑" ผมไปนั่งฟังตลอดบ่าย ฟังแล้วได้ความรู้มาก โดยเฉพาะด้านวิธีคิด หรือการคิดอย่างเป็นระบบ

กรอบการทำงานมองการจัดการระบบวิจัย ๙ มิติ ได้แก่ (๑) นโยบายและยุทธศาสตร์ (๒) องค์กรสนับสนุนทุน (๓) งบประมาณ (๔) หน่วยทำวิจัย (๕) บุคลากร (๖) โครงสร้างพื้นฐาน (๗) มาตรฐาน (๘) การจัดการผลผลิต (๙) การประเมิน และแบ่งงานวิจัยออกเป็น ๔ track ตามเป้าประสงค์ของงานวิจัย ได้แก่ Track 1 เพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ Track 2 เพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจ Track 3 เพื่อเสริมสร้างพลังสังคมและชุมชน และ Track 4 เพื่อนโยบาย

ฟังแล้วผมได้ความรู้ หรือได้คำ impact-led research system โดยมองเงินและทรัพยากรอื่นๆ ที่ใช้ในการวิจัยเป็นการลงทุน เป็น investment ไม่ใช่ expense จึงต้องมีการจัดการการลงทุนนี้ ให้ได้ impact ต่อบ้านเมืองตามเป้าหมายของการลงทุนนั้น โดยต้องมีความพอดีหรือดุลยภาพระหว่าง bureaucrat cum researchers – driven กับ market – driven research หรือใช้สัดส่วน 1 : 2

ในทุกสถานที่ที่คุยกันเรื่องระบบวิจัย จะมีคนบอกว่าระบบค่าตอบแทนนักวิชาการที่มีอยู่จริงในปัจจุบัน ไม่เอื้อต่อการทำงานวิจัย เพราะงานสอน (โดยเฉพาะอย่างยิ่งสอนหลักสูตรพิเศษ หรือนอกที่ตั้ง) ให้ค่าตอบแทนสูงกว่าหลายเท่า และเป็นงานที่ง่ายกว่า ประเด็นค่าตอบแทนนักวิจัยเก่งๆนี้ น่าจะเป็นโจทย์วิจัยเพื่อการพัฒนาระบบวิจัยด้วย ถือเป็นส่วนหนึ่งของมิติที่ ๕ ข้างบน

ผมชอบแนวคิดที่ ดร. นิพนธ์ พัวพงศกร เสนอว่า งานวิจัยต้องแสดง accountability ต่อ เจ้าของและขอแสดงความยินดีต่อ วช. และสถาบันคลังสมอง ในความสำเร็จของการประชุมนี้ มีผู้สนใจเข้าร่วมประชุมคับคั่งกว่า ๓๐๐ คน

ในฐานะที่เป็นกรรมการกำกับทิศ ของการวิจัยนี้ ผมขอเสนอว่า ประเด็นสำคัญที่ควรมี การทำความชัดเจนเพิ่มขึ้น เพื่อหาทางสร้างระบบ ได้แก่

* การสร้างความต่อเนื่องของทุนสนับสนุนการวิจัยที่สำคัญ ด้วยการเก็บค่าธรรมเนียม การวิจัย จากผู้ได้รับประโยชน์จากการวิจัยนั้น โดยที่หากผู้ได้รับ ประโยชน์เป็นคนเล็ก คนน้อย รัฐออกเงินแทน หากภาคธุรกิจได้ประโยชน์ ภาคธุรกิจ ต้องจ่ายค่าธรรมเนียม นั้น (เป็นข้อเสนอหลักการโดย ดร. นิพนธ์ พัวพงศกร)

* ควรมีโจทย์วิจัยย่อย เรื่องแนวทางการจัดให้มีการลงทุนวิจัยอย่างต่อเนื่องและเพียงพอ ในระดับประเทศ โดยมีแหล่งทุนวิจัยจากหลากหลายแหล่ง ไม่ขึ้นกับนโยบาย งบประมาณรายปีของประเทศเท่านั้น

* งานวิจัยเพื่อสังคมและชุมชน มีลักษณะคล้ายคลึงกับงานวิจัยเพื่อพัฒนางานประจำ (R2R - Routine to Research) ที่ริเริ่มโดยศิริราช และ หลังจากนั้น สวรส. ร่วมกับ กระทรวงสาธารณสุข และ สปสช. ได้ร่วมกันสนับสนุนให้มีการนำไปใช้เป็นเครื่องมือ พัฒนาคน พัฒนางาน และพัฒนาองค์กร ในวงการสุขภาพ ทั่วประเทศ อ่านเรื่องราว ได้ที่นี่ ที่นี่ และที่นี่ ทีมวิจัย Track 3 น่าจะได้เข้าไปทำความรู้จักและตีความ เพื่อ พิจารณาขยายขอบเขตของ Track 3 ให้กว้างขึ้น โดยที่งานวิจัยในกลุ่มนี้อาจเรียกว่าเป็น people-empowerment research

* งานวิจัย Track 4 เพื่อนโยบาย เกี่ยวข้องกับงานวิจัยระบบ ซึ่งเรามี สวรส. ทำงานวิจัย และสนับสนุนการวิจัยระบบสาธารณสุข ก่อความเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างและเชิง นโยบายด้านสุขภาพอย่างมากมาย เช่น การเกิด สสส., การเกิดระบบประกันสุขภาพ ถ้วนหน้า และ สปสช., การเกิด สช. เป็นต้น นอกจากนั้น สวรส. ยังก่อกำเนิดสถาบัน วิจัยนโยบายอีก ๒ สถาบัน คือ สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ (IHPP) และ โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP) เป็นหน่วยงานวิจัยนโยบายอยู่ภายในกระทรวงสาธารณสุข และได้รับทุนวิจัยจากทั้ง ในประเทศและต่างประเทศ เป็นที่ยอมรับนับถือมาก ขอเสนอให้ทีมวิจัย Track 4 พิจารณาว่าควรขยายผลการวิจัยไปครอบคลุมด้วยหรือไม่

วิจารณ์ พานิช
๑๓ ก.ค. ๕๔

http://www.gotoknow.org/blog/council/448808

โครงการสัมมนาเชิงวิชาการเฉลิมพระชนมพรรษา 84 พรรษา เรื่อง ธรรมาภิบาลกับการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร

เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 84 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯมหาวิทยาลัยศิลปากรจึงเห็นสมควรจัดโครงการสัมมนาเชิงวิชาการเฉลิมพระชนมพรรษา 84 พรรษา เรื่องธรรมาภิบาลกับการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานในสถาบันอุดมศึกษาเห็นความสำคัญ ของการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล และนำมาเป็นแนวทางหลักในการบริหารและปฏิบัติงาน โดยใช้หลักการบริหารจัดการบ้านเมืองและสังคมที่ดี(good governance)ในหน่วยงานให้เกิดสัมฤทธิผลตามเป้าหมายที่กำ หนดไว้ เพื่อให้สอดคล้องกับภารกิจหลักของสถาบันอุดมศึกษา 4 ประการ อันประกอบด้วยการจัดการเรียนการสอน การวิจัย การให้บริการทางวิชาการแก่สังคม และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ซึ่งคุณภาพของการดำเนินการตามภารกิจทั้ง 4 ประการดังกล่าว มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศทั้งระยะสั้นและระยะยาว

ทั้งนี้ สถาบันอุดมศึกษาจะมีทิศทางพัฒนาคุณภาพได้ดีหรือไม่ ขึ้นอยู่กับว่าสถาบันอุดมศึกษาให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการ และคำนึงถึงกฎ ระเบียบ หรือมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง และเร่งปรับตัวเพื่อให้ทันต่อมาตรฐานหรือกฎเกณฑ์ที่ต้องปฏิบัติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านของการบริหารราชการตามหลักธรรมาภิบาล ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และการดำเนินการตามมาตรฐานการอุดมศึกษา ด้านการบริหารจัดการการอุดมศึกษา ด้านธรรมาภิบาลของการบริหารการอุดมศึกษา ให้มีการบริหารจัดการการอุดมศึกษาตามหลักธรรมาภิบาล โดยคำนึงถึงความหลากหลาย และความเป็นอิสระทางวิชาการ

ดังนั้นสถาบันอุดมศึกษาจึงต้องให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการ คือมีสภาสถาบันหรือสภามหาวิทยาลั ทำหน้าที่ในการกำกับดูแลการทำงานของสถาบันการศึกษาให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งสภาสถาบันต้องมีการดำเนินงานโดยใช้หลักธรรมาภิบาล และส่งเสริมการบริหารงานโดยใช้หลักธรรมาภิบาลทั่วทั้งองค์กรเพื่อให้ผู้บริหารบริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาลโดยคำนึงถึงประโยชน์ของสถาบันและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

http://www.graduate.su.ac.th/files/news/14_July.pdf
ตามที่บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้ดำเนินการจัดทำวารสารอิเล็กทรอนิกส์ (Veridian E - Journal) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการเผยแพร่ผลงานวิจัยของนักศึกษา อาจารย์ และนักวิจัย และเพื่อเป็นแหล่งกลางในการเผยแพร่ผลงานวิชาการให้มีมาตรฐานเทียบเคียง กับระดับชาติหรือระดับสากลและเสริมสร้างศักยภาพในการสนับสนุนการจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา

ปัจจุบันวารสารอิเล็กทรอนิกส์ (Veridian E - Journal) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้รับการคัดเลือกเข้าสู่ฐานข้อมูล TCI (Thai Journal Citation Index Centre) ตั้งแต่วันที่ 22 ธันวาคม 2553 ซึ่งเป็นศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทยที่มีการจัดทำค่าดัชนีผลกระทบการอ้างอิงอย่างถูกต้องสมบูรณ์และต่อเนื่องทุกปี

สำหรับการจัดทำวารสารอิเล็กทรอนิกส์ (Veridian E - Journal) ปีที่ 4 ฉบับเดือนพฤษภาคม – สิงหาคม 2554 นี้ มีบทความที่ได้รับการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ (peer review) เพื่อเผยแพร่ในครั้งนี้ รวมทั้งสิ้น จำนวน 63 เรื่อง โดยแบ่งเป็น จำนวน 3 กลุ่มสาขาวิชา ดังนี้
• กลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ จำนวน 24 เรื่อง
• กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ จำนวน 16 เรื่อง
• กลุ่มสาขาวิชาศิลปะและการออกแบบ จำนวน 23 เรื่อง
หวังเป็นอย่างยิ่งว่าวารสารอิเล็กทรอนิกส์ (Veridian E - Journal) ปีที่ 4 ฉบับเดือนพฤษภาคม – สิงหาคม 2554 นี้ จะช่วยส่งเสริมและสนับสนุนการต่อยอดผลงานวิจัย/สร้างสรรค์ และการนำไปใช้ประโยชน์ในทางวิชาการและแก่ชุมชนและสังคมต่อไป

http://www.graduate.su.ac.th/ejournal/files/TCI.pdf
http://www.ejournal.su.ac.th/current.php